Menu
หน้าแรก
ดูบอลสด
ตารางบอล
วิเคราะห์บอล
เว็บบอร์ด
ผ่าตัดกระเพาะอาหารลดน้ำหนัก รักษาโรคอ้วน
เพราะด้วยไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้คนเราออกกำลังกายน้อยลง และบริโภคอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาลมากขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะอ้วนโดยไม่รู้ตัว และปัญหาเรื่องการลดน้ำหนักที่เชื่อว่าหลายคนต้องเคยมีประสบการณ์ลดความอ้วนในหลากหลายวิธีมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การคุมอาหาร และการใช้ยาลดน้ำหนัก ซึ่งหลายคนอาจลดน้ำหนักได้ แต่อีกหลายคนอาจจะกลับมาอ้วนใหม่อีกรอบได้ หากไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน และการใช้ชีวิตที่เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคอ้วน จึงทำให้การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก กลายมาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในยุคนี้สำหรับการลดน้ำหนัก เพื่อรักษาสุขภาพ
ความอ้วน จุดเริ่มต้นของสารพัดโรค
เพราะหลายคน อาจจะบอกว่าพรุ่งนี้ค่อยลดก็ยังได้ กินไปก่อนเพราะมีของอร่อยรออยู่ตรงหน้า และทำแบบนี้วนไป กว่าจะรู้ตัวก็ตอนอิ่ม หรือตอนที่มีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นแล้ว และอาจหาวิธีต่างๆในการลดน้ำหนักแล้ว แต่กลับไม่ได้ผล และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประวันจำวัน หรืออาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ ส่งผลให้การผ่าตัดกระเพาะอาหารอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะทำให้คุณกลับมาแข็งแรง และมีสุขภาพดีได้อีกครั้ง
โรคเบาหวานชนิดที่ 2
ความดันโลหิตสูง
ไขมันในเลือดสูง
โรคหัวใจ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
ภาวะการนอนกรน และการหยุดหายใจในขณะนอนหลับ
ภาวการณ์มีบุตรยาก
โรคมะเร็งบางชนิด
โรคหัวใจ
ผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก (Bariatric Surgery) คืออะไร
การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลดความอ้วนสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานและกลัวความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ เพื่อลดขนาดของกระเพาะอาหารให้เล็กลง หรือลดการดูดซึมของกระเพาะอาหาร เพื่อช่วยให้อิ่มเร็ว ลดความอยากอาหาร และทานอาหารได้ในปริมาณที่น้อยลง เพราะในกระเพาะอาหารมีฮอร์โมนกรีลิน (Ghrelin) ซึ่งเป็น “ฮอร์โมนความหิว” ที่กระตุ้นความอยากอาหาร แต่เมื่อผ่าตัดลดขนาดกระเพาะลง ก็จะตัดส่วนที่มีฮอร์โมนนี้ออกไปด้วย และเมื่อฮอร์โมนนี้ลดลง ก็จะส่งผลให้ความอยากอาหารลดลงไปด้วย
วิธีการรักษาโรคอ้วน ด้วยวิธีผ่าตัดส่องกล้องกระเพาะอาหาร
เพราะในปัจจุบันการผ่าตัดกระเพาะอาหารได้มีนวัตกรรมการผ่าตัดส่องกล้องเข้ามาช่วยในการรักษา ซึ่งเราเรียกการผ่าตัดนี้ว่า MIS หรือ Minimally Invasive Surgery โดยการผ่าตัดส่องกล้องด้วยวิธีนี้จะช่วยลดโอกาสติดเชื้อหรือโรคแทรกซ้อน และลดอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นจากภายใน รวมถึงใช้เวลาในการพักฟื้นในโรงพยาบาลไม่นาน และสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติเร็วขึ้น ซึ่งวิธีการผ่าตัดส่องกล้องจะแบ่งออกเป็น 2 วิธี
ผ่าตัดลดขนาดเอาของกระเพาะอาหารออก (sleeve gastrectomy)
เป็นการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักโดยการตัดกระเพาะบางส่วนออกไปเพื่อให้ความจุของกระเพาะอาหารลดลง หลังจากผ่าตัดเสร็จแพทย์จะใช้ลวดเย็บปิดกระเพาะอาหาร
ผ่าตัดบายพาสกระเพาะอาหาร (gastric bypass)
เป็นการปรับขนาดกระเพาะอาหารให้เล็กลง ร่วมกับ Bypassกระเพาะอาหารลงสู่ลำไส้เล็กส่วนปลาย เพื่อให้รับประทานได้ลดลง และลดการดูดซึมอาหารบางส่วน นอกจากนี้ยังช่วยปรับฮอร์โมนเกี่ยวกับความหิว และความอิ่มของร่างกาย ซึ่งจะช่วยให้คนไข้รู้สึกอิ่มไวขึ้น และช่วยให้น้ำหนักลงเร็ว หรือรักษาน้ำหนักได้คงที่ โดยการผ่าตัดด้วยวิธีการผ่าตัดส่องกล้องจะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และสามารถลดโรคร่วมจากความอ้วนได้ดีกว่า โดยเฉพาะเบาหวาน
ใครสามารถทำการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักได้บ้าง?
ผู้ที่มีอายุมากกว่า 18 ปี แต่ในกรณีอายุน้อยกว่านั้น ต้องคุยกับแพทย์ถึงความจำเป็นและความเสี่ยงอย่างไร
ผู้ที่พยายามลดน้ำหนักด้วยตัวเอง ทั้งควบคุมอาหาร และออกกำลังกายมาแล้วแต่กลับไม่ได้ผล และกลับมาอ้วนอีก
ผู้เป็นผู้ที่ไม่ได้มีข้อห้ามในการผ่าตัด หรือผู้ที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้หลังผ่าตัด เช่น เป็นโรคทางจิตเวช โรคมะเร็ง และภาวะติดสุราหรือสารเสพติด
ผู้ที่มีภาวะอ้วน คือค่า BMI มากกว่า 32.5
วิธีคำนวณค่าดัชนีมวลกาย BMI
เราใช้ค่ามาตรฐานในการวัดภาวะอ้วน คือ ใช้ดัชนีมวลกาย (Body Mas Index : BMI) โดยหาได้จากการนำน้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง เช่น หนัก 90 กิโลกรัม สูง 160 เซนติเมตร ค่า IBM คำนวนได้ คือ (90 / (1.6 x 1.6)) และได้ BMI = 35.15 กก./ตร.ม. ซึ่งเริ่มมีความเสี่ยงสูง และต้องรีบมาเข้ามาปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม
เกณฑ์ดัชนีมวลกาย (BMI) ที่จำเป็นผ่าตัดกระเพาะอาหาร
1. มีค่า BMI 37.5 กก./ตร.ม ขึ้นไปที่ไม่มีโรคร่วม
2. มีค่า BMI 32.5 กก./ตร.ม ขึ้นไปที่มีโรคร่วม โดยเป็นผู้ป่วยโรคอ้วนที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 หรือภาวะเมตาบอลิกชินโดรม (Metabolic Syndrome) มีอาการข้อใดข้อหนึ่ง
ความดันโลหิตสูง
ภาวะไขมันในเลือดสูง
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA)
ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)
ภาวะไขมันเกาะตับ
โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Diseases)
ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure)
ภาวะหลอดเลือดดำบกพร่องเรื้อรัง (CVI)
โรคหลอดเลือดสมอง (CVD)
น้ำหนักผิดปกติจากผลของฮอร์โมน หรือดเกิดจากโรคกล้ามเนื้อและกระดูก
ผู้ที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้ และมีค่า BMI 27.5-30 กก./ตร.ม ขึ้นไป
ข้อดีของการผ่าตัดกระเพาะ
สุขภาพร่างกายจะดีขึ้นหลังการผ่าตัดลดน้ำหนักแล้ว และช่วยให้หายจากโรคประจำตัวหรือลดความรุนแรงของโรคเช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดสมอง
มีรูปร่างดีขึ้น โดยไม่ต้องใช้ยาลดน้ำหนักอีกต่อไป และสามารถเลือกเสื้อผ้าสวมใส่ได้ง่ายขึ้น ทำให้เกิดความมั่นใจในการเข้าสังคม
น้ำหนักลดลง และไม่กลับมาอ้วนอีก
ช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
ไม่มีแผลที่หน้าท้อง เจ็บน้อย ลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการผ่าตัด และใช้เวลาพักฟื้นไม่นาน
ตอบคำถาม
ตั้งคำถามใหม่
โพสต์โดย : เจ้าหนู
เมื่อ 20 ธ.ค. 2566 18:04:54 น. อ่าน 61 ตอบ 0
Member
Login
ลืมรหัสผ่าน
|
สมัครสมาชิกใหม่
ดูฟุตบอลออนไลน์