Menu
หน้าแรก
ดูบอลสด
ตารางบอล
วิเคราะห์บอล
เว็บบอร์ด
จากมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูส์
(University of St Andrews) สหราชอาณาจักร เป็นหนึ่งในผู้ที่พยายามทำความเข้าใจปรากฏการณ์นี้ เขาอ่านกลุ่มคำที่มีความเชื่อมโยงกันให้อาสาสมัครฟัง แต่จะไม่อ่านคำบางคำ เช่น อ่านคำว่า pillow (หมอน), dream (ฝัน), night (กลางคืน) ฯลฯ แต่จงใจไม่อ่านคำว่า sleep (นอนหลับ) ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับคำอื่นๆ อย่างชัดเจน จากนั้นเขาทำการทดลองถามอาสาสมัคร 2 รอบ
จาเมส์วู
รอบแรกถามว่า เมื่อสักครู่ได้ยินคำที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร s หรือไม่ แน่นอนว่าอาสาสมัครตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่ได้ยิน แต่คำถามต่อมาคือการถามว่าได้ยินคำว่าอะไรบ้าง พอถามไปถามมา อาสาสมัครกลับรู้สึกคุ้นๆ ว่าได้ยินคำว่า sleep กล่าวได้ว่าการทดลองง่ายๆ นี้กระตุ้นให้คนเราเกิดประสบการณ์เดจาวูขึ้นมาได้! ที่น่าสนใจคือการทดลองไม่ได้จบลงแค่นั้น เพราะระหว่างที่อาสาสมัครเกิดอาการเดจาวูกับคำว่า sleep นักวิจัยได้อ่านคลื่นสมองของอาสาสมัครด้วยเครื่อง fMRI (functional magnetic resonance imaging) เพื่อดูว่าสมองส่วนไหนทำงานขณะเกิดเดจาวู ในตอนแรกนักวิทยาศาสตร์คาดว่าสมองส่วนความทรงจำสักแห่งน่าจะรับผิดชอบต่ออาการเดจาวู แต่ผลลัพธ์ที่ได้ผิดกับที่คาดการณ์ไว้เพราะพบว่าสมองส่วนความทรงจำนั้นเงียบกริบ ไม่มีการส่งสัญญาณประสาทใดๆ มากขึ้น แต่สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจกลับมีการส่งกระแสประสาทอย่างขวักไขว่
ตอบคำถาม
ตั้งคำถามใหม่
โพสต์โดย : midnight
เมื่อ 12 มิ.ย. 2566 00:25:22 น. อ่าน 89 ตอบ 0
Member
Login
ลืมรหัสผ่าน
|
สมัครสมาชิกใหม่
ดูฟุตบอลออนไลน์