Menu
หน้าแรก
ดูบอลสด
ตารางบอล
วิเคราะห์บอล
เว็บบอร์ด
ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์
เรารู้จักเซลลูโลสในนามของโครงสร้างหลักในผนังเซลล์ที่พบได้ทั่วไปในพืช เกิดจากการสังเคราะห์ตามธรรมชาติที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถผลิตได้ มีคุณสมบัติดูดซับน้ำได้ดี มีความยืดหยุ่นสูง ไม่เป็นพิษต่อเซลล์เนื้อเยื่อของร่างกายมนุษย์ และย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ จึงทำให้เซลลูโลสโลดแล่นอยู่ในวงการวิจัยและถูกในไปใช้ในงานวิจัยต่างๆ เพื่อเสริมแรงและพัฒนาไปสู่การเป็นวัสดุทางเลือกที่ใช้ทดแทนพลาสติกในอนาคตอันใกล้ เซลลูโลสวัสดุชีวฐาน (bio-based materials) สามารถใช้เป็นวัสดุทดแทนพลาสติกได้ นายบัณฑิตย์ ศิริผลวุฒิชัย นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทีมวิจัย
เซลลูโลส
เซลลูโลสนาโนคริสตัลและเซลลูโลสอสัณฐานจากเส้นใยธรรมชาติเพื่อการประยุกต์เชิงพาณิชย์ เห็นประโยชน์จากการนำเยื่อยูคาลิปตัสฟอกขาวมาผลิตเป็นเส้นใยเซลลูโลส เพื่อลดราคาต้นทุนการนำเข้าและสามารถผลิตได้จำนวนมากพอที่จะนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายในอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ ปัจจุบันอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ประสบปัญหาในการผลิตเซลลูโลสอสัณฐานและเซลลูโลสนาโนคริสตัลในปริมาณมาก โดยส่วนใหญ่การผลิตเซลลูโลสนิยมใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบสับปะรด หรือชานอ้อย ซึ่งจำเป็นต้องมีขั้นตอนกระบวนการกำจัดสิ่งสกปรกและฟอกสีเส้นใย ซึ่งวิธีกระบวนการเหล่านี้ ต้องให้ความร้อน ใช้เวลานาน และใช้สารเคมีจำนวนมาก ทำให้เกิดของเสียปริมาณมากและมีต้นทุนการผลิตสูง ไม่คุ้มค่าต่อการผลิตเชิงพาณิชย์ ดังนั้นงานวิจัยนี้เราจึงเลือกใช้เยื่อยูคาลิปตัสฟอกขาว ซึ่งสามารถหาได้ง่ายในประเทศไทย ราคาไม่แพง อีกทั้งสามารถลดขั้นตอนในการกำจัดสิ่งสกปรกและการฟอกสี เนื่องจากเยื่อยูคาลิปตัสผ่านกระบวนการจากโรงงานอุตสาหกรรมกระดาษเรียบร้อยแล้ว
ตอบคำถาม
ตั้งคำถามใหม่
โพสต์โดย : midnight
เมื่อ 21 เม.ย. 2566 15:21:16 น. อ่าน 98 ตอบ 0
Member
Login
ลืมรหัสผ่าน
|
สมัครสมาชิกใหม่
ดูฟุตบอลออนไลน์