covidzaa.com
Menu

การดำเนินการด้านสาธารณสุข

ในประเด็นนี้มีความละเอียดอ่อนในเรื่องของการประสานงานระหว่างหน่วยงานในพื้นที่และผู้ที่เกี่ยวข้องระหว่างประเทศต้นทางและประเทศปลายทางซึ่งเป็นประเทศเจ้าบ้าน เนื่องจากเมื่อเดินทางมาถึงชายแดนแล้ว อาจได้รับบริการด้านสาธารณสุขเพียงครั้งเดียวเท่านั้นในประเทศเจ้าบ้าน แม้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะสามารถชี้ความเสี่ยงด้านสุขภาพได้  อพยพ แต่การจะระบุได้ว่าบุคคลนั้นควรได้รับการฉีดวัคซีนหรือไม่ ต้องอาศัยกระบวนการประเมินประวัติการฉีดวัคซีนและการดำเนินงานของประเทศเจ้าบ้านเอง และต้องมีการติดตามด้วยว่ากลุ่มประชากรนี้มีความจำเป็นต้องได้รับวัคซีนจำนวนกี่โดส อย่างไรก็ดี สำหรับกลุ่มประเทศภูมิภาคยุโรปเองก็ไม่ได้มีมาตรการที่เฉพาะเจาะจงไปที่กลุ่มนี้ รวมถึงว่ายังมีประเด็นเรื่องของการมี/ไม่มีเอกสารประวัติการฉีดวัคซีน มีข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน สม่ำเสมอ ครอบคลุมและเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนกันข้ามพรมแดนและตามเส้นทางของการอพยพหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องสำคัญในการประเมินความต้องการทางสาธารณสุขและการเฝ้าระวังโรค ถึงกระนั้น ไม่ได้หมายความว่ากลุ่มประชากรนี้ไม่มีสิทธิได้รับวัคซีน ดังนั้น วิธีแก้ปัญหาอีกทางคือ การมีเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมโยงทะเบียนการฉีดวัคซีนแห่งชาติ ตลอดจนการแบ่งปันข้อมูลตามเส้นทางอพยพ ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการติดตาม ตรวจสอบ และวางแผนการฉีดวัคซีนสำหรับผู้อพยพโยกย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัย ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนเรื่องสิทธิการเข้าถึงวัคซีนสำหรับกลุ่มประชากรนี้ คือ การมีเจ้าหน้าที่ที่เพียงพอ โดยเฉพาะผู้ไกล่เกลี่ยทางวัฒนธรรมและล่าม ซึ่งเป็นตัวกลางเชื่อมโยงการส่งมอบบริการด้านสาธารณสุขที่ ครอบคลุมทุกคน บ่งชี้ว่าความสามารถเรื่องวัฒนธรรมและภาษาเป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้กำหนดนโยบายควรพิจารณาสนับสนุนให้มีการอบรมเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ รวมถึงการตระหนักถึงสิทธิด้านสุขภาพของกลุ่มประชากรดังกล่าว เพื่อให้สามารถให้บริการได้อย่างเท่าเทียมกัน

โพสต์โดย : midnight midnight เมื่อ 20 เม.ย. 2566 15:42:38 น. อ่าน 94 ตอบ 0

facebook